นอกจากการนอนกรนแล้วที่เป็นปัญหาที่สร้างความรำคานและรบกวนคนนอนแล้ว ‘นอนกัดฟัน’ ก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่ทำให้คนข้าง ๆ กลัวอยู่ไม่น้อย ซึ่งหลายคนคงกำลังสงสัยว่าจริง ๆ แล้ว อาการนอนกัดฟันเป็นอาการทั่วไป หรือเป็นอาการรุนแรงที่ควรแก้ไข วันนี้มีคำตอบ
นอนกัดฟันคืออะไร อันตรายเล็กที่ไม่ควรมองข้าม
ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการสำรวจประชากรทั่วโลก พบว่า ประชากรกว่าร้อยละ 35 มีอาการนอนไม่หลับ ทำให้รู้สึกง่วงและหาวอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันก็มีประชากรร้อยละ 45 ประสบกับปัญหาอาการผิดปกติเกี่ยวกับการนอนอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เช่น นอนละเมอ นอนกรน และนอนกัดฟัน ก็เป็นอีกพฤติกรรมก็พบได้บ่อย
โดยนอนกัดฟันเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาขณะนอนหลับ โดยจะมีลักษณะขบเน้นฟันแน่น ๆ หรือลักษณะฟันบนกับฟันล่างบดถูไถกันซ้ำ ๆ กันในคืนหนึ่ง และผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันแบบรุนแรงจะมีอาการดังกล่าวมากกว่า 80 ถึง 100 ครั้ง แน่นอนว่าคนเหล่านี้จะไม่รู้ตัวเองเลยว่านอนกัดฟัน คล้าย ๆ กับคนนอนกรนที่จะไม่รู้ตัว

สาเหตุของอาการกัดฟัน มาจากอะไร?
ฟันกรามกำลังขึ้น
- ส่วนใหญ่มักพบได้ในวัยเด็ก เป็นช่องที่ฟันกรามกำลังงอกใหม่ขึ้นมา ทำให้สันนูนบนด้านบดเคี้ยวของฟัน เกิดการกระทบกันได้ และทำให้ฟันส่วนนี้สึกกร่อนไปเองจนมีระดับเท่ากับฟันซี่อื่นในปาก
เหงือกอักเสบ
- ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ อาจมีภาวะฟันโยกคลอนและลอยตัวออกจากเบ้ากระดูกที่รองรับฟัน ทำให้การสบฟันผิดปกติ
การอุดฟันหรือครอบฟันสูงเกินไป
- หากไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นสาเหตุของการนอนกัดฟันบ่อย ๆ นอกจากนี้คนที่มีฟันเก ฟันซ้อน และฟันไม่เป็นระเบียบ ก็จะมีบางบริเวณที่สูง จนทำให้ไปกระแทกกับฟันซี่อื่น
อารมณ์และจิตใจ
- ถึงแม้จะไม่มีความผิดของรูปฟัน แต่คนที่มีความเครียดในช่วงกลางวัน จะทำให้ในตอนกลางคืนนอนกัดฟันได้

นอนกัดฟัน อันตรายไหม ผลเสียอะไรบ้าง
คนที่นอนคนเดียวเป็นประจำมักจะไม่รู้ตัวเลยว่าตัวเองนอนกัดฟัน จนกระทั่งไปนอนกับครอบครัว เพื่อน หรือคนรัก จึงได้รู้ว่าตัวเองเป็นคนนอนกัดฟันแบบรุนแรง ซึ่งนั่นนอกจากจะส่งผลทำให้คนข้าง ๆ เกิดความรำคานจนนอนไม่หลับแล้ว มันยังส่งผลเสียต่อคุณมากอีกด้วย โดยข้อเสียของการนอนกัดฟัน มีดังนี้
- ฟันสึก ทำให้ฟันสั้นลง ฟันบาง มีอาการเสียวฟัน หากทิ้งไว้นาน ๆ ปัญหาที่ตามมาคือมีปัญหาเรื่องความสวยงาม ทำให้ใบหน้าสั้นลงเพราะฟันเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยในเรื่องของรูปหน้าด้วย
- ฟันบิ่น ฟันแตก ฟันร้าว และอาจจะทะลุไปที่โพรงประสาทฟัน ทำให้คุณไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ยาก ทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการรักษา
- รู้สึกปวดเมื่อยบริเวณหน้าและขากรรไกร อ้าปากได้ยาก เคี้ยวอาหารไม่ได้ และอาจส่งผลกระทบไปถึงสภาพจิตใจได้
- กระดูกกรามใหญ่ขึ้นเป็นปุ่มนูนกระดูก บางคนก็มีอาการกล้ามเนื้อบริเวณแก้มทั้งสองข้างขยายใหญ่ขึ้น และหน้ากางออกเป็นเหลี่ยม
- รบกวนผู้อื่น อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์

นอนกันฟัน รักษาได้ไหม
เนื่องจากอาการนอนกัดฟันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นการใช้อุปกรณ์การนอนเพื่อรักษาเพื่อให้หยุดอาการกัดฟันก็ยังไม่ได้ผลแบบ 100% ดังนั้นจะต้องควบคุมปัจจัยอื่น ๆ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มคาเฟอีน บุรี่ สารเสพติด พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่นการเล่นเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ และยารักษาโรคบางตัว ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการนอนกัดฟัน
แต่ทั้งนี้หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น จะต้องเข้ารับการรักษาเรื่องนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับด้วยเช่นกัน เพราะนั่นอาจจะมีส่วนทำให้คุณนอนกัดฟัน หากแก้ไขอย่างตรงจุดก็จะทำให้อาการดังกล่าวทุเลาลงได้